
April 27,2018
การสร้างบ้านเพื่อผู้สูงอายุ เรื่อง (ไม่) เล็ก ที่ต้องรู้
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สังคมไทยกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุAkkara Care ร่วมกับพันธมิตรเวปไซต์ home1click.com/ จัดทำบทความนี้ขึ้น ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “ความสะดวกและความปลอดภัย” เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และข้อมูลที่ถูกต้อง นำไปประยุกต์ใช้กับงานของท่าน ในการออกแบบ หรือ ก่อสร้าง บ้าน หรือ สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สุงอายุ ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
-
ตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย ตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย ควรเป็นบ้านชั้นเดียว หากเป็นบ้าน 2 ชั้น ควรให้ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ชั้นล่าง เพราะผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านหัวเข่าหรือภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่สะดวก
-
บันได ถ้าจำเป็นต้องให้ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ชั้นบน สิ่งสำคัญคือ ต้องมีที่ยึดเกาะหรือราวบันไดที่มั่นคงแข็งแรงได้มาตรฐาน สามารถจับได้ ถนัดมือ ส่วนพื้นบันได ควรเป็นพื้นแบบที่พื้นผิวไม่ลื่น มีลูกตั้งและลูกนอน สำหรับลูกตั้งควรมีความสูงไม่เกิน 15 ซม. ลูกนอนซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่วางเท้าต้องวางเท้าได้เต็มเท้าหรือ ควรมีความกว้าง 30 ซม. ที่สำคัญ ต้องมั่นตรวจสอบราวบันไดให้มั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ
-
พื้นที่รอบตัวบ้าน ตั้งแต่พื้นที่จอดรถ ไปจนถึงทางเข้าบ้าน ควรมีทางลาดสำหรับรถเข็นขึ้นได้สะดวก และถ้าหากว่าต้องการเปลี่ยนระดับควรทำทางลาดในทุกจุด ควรทำพื้นผิวให้ง่ายต่อการใช้รถเข็นและมีอุปกรณ์ป้องกันการลื่นไถล ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้แผ่นหินมาปูเป็นทางหรือเทคอนกรีตทำทาง และสำหรับพื้นที่ที่สัมผัสกับความชื้น ควรระมัดระวังเรื่องคราบตะไคร่ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเช่นกัน
-
ประตู บานประตูปกติจะมีความกว้างประมาณ 70 – 90 ซม. แต่ถ้าเราจะทำประตูให้ผู้สูงอายุ ควรมีความกว้าง 100 ซม. ขึ้นไป เพื่อให้สามารถเข้า-ออก ตลอดจนเคลื่อนย้ายรถเข็นหรือเตียงได้อย่างสะดวก และหากมีเหตุต้องเคลื่อนย้ายผู้สุงอายุในกรณีฉุกเฉิน ก็จะสามารถทำได้อย่างทันท่วงที
-
ธรณีประตู ไม่ควรมีธรณีประตูเพื่อให้รถเข็นเข้าไปได้สะดวกหรือผู้สูงอายุเดินจะไม่เดินสะดุด
-
ลูกบิดบานพับประตู ควรใช้เป็นมือจับหรือก้านโยกมากกว่าลูกบิดประตูทั่วไป เนื่องจากจับสะดวกและใช้แรงในการเปิด-ปิด น้อยกว่า นอกจากนี้ ยังช่วยเรื่องความสวยงามด้วย ส่วนบานพับประตูนั้น ควรใช้บานพับประตูที่ได้มาตรฐานสามารถรับน้ำหนักประตู เพราะประตูที่ใช้ในบ้านผู้สูงอายุนั้น จะมีขนาดใหญ่กว่าประตูทั่วๆไป
-
พื้นบ้าน คุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ควรเป็นพื้นผิวที่ลื่น ควรมีความฝืดของผิวสัมผัส ไม่ว่าจะปูพื้นด้วยกระเบื้องหรือไม้ กรณีที่ปูกระเบื้องมาก่อนแล้วนั้น ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำยากันลื่น โดยจะไปเคลือบผิวหน้ากระเบื้องให้มีความฝืดมากขึ้นแต่อาจจะลดความเงาของผิวกระเบื้องไปบ้าง บางบ้านมีการใช้กระเบื้องดินเผาปูพื้น ก็ควรป้องกันให้ดีเพราะกระเบื้องดินเผาจะมีความมันของผิวกระเบื้องโดยธรรมชาติ
-
สวิตซ์และปลั๊กไฟ สำหรับผู้สูงวัยแล้ว ต้องดูเรื่องตำแหน่งของสวิตซ์และปลั๊ก สวิตซ์ไฟควรติดตั้งสูงจากพื้นประมาณ 90 – 120 ซม. เพื่อไม่ต้องก้มหรือเอื้อม และควรใช้สวิตซ์ขนาดใหญ่ที่สามารถใช้กำปั้นหรือข้อศอกในการเปิดได้ หรือมีสีที่แตกต่างกับบริเวณที่ติดตั้งเพียงพอที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ สำหรับเต้ารับไฟฟ้าควรติดตั้งสูงจากพื้น 40 – 100 ซม. เพื่อให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อสามารถเข้าถึงได้ และหากต้องมีการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องระวังเรื่องสายไฟที่วางบนพื้นเพราะอาจเดินสะดุดได้
-
แสงสว่างและแสงแดด ภายในที่พักอาศัย ควรมีแสงแดดหรือแสงสว่างเพียงพอ เพราะนอกจากความสะดวกในการมองเห็นเพื่อความปลอดภัยแล้ว แสงแดดยังมีวิตามิน D ที่มีส่วนช่วยเรื่องของเสริมสร้างกระดูก ควบคุมเรื่องการนอนหลับและป้องกันภาวะสับสนในผู้สูงอายุได้
หากท่านผู้อ่านกำลังพิจารณาปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัว พื้นฐานการออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุข้างต้นนั้น ในความเป็นจริงยังเป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปปรับใช้กับบ้านหรือที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ทุพลภาพ ตลอดจนการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปได้เช่นกัน สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ เนื่องจากใช้แนวคิดที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องความสวยงามก็ยังเป็นสิ่งที่มองเห็นได้
ถ้าหากท่านผู้อ่านกำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสำหรับคนในครอบครัวก็สามารถพิจารณารายละเอียดเบื้องต้นได้จากหัวข้อต่างๆ ของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ AkkaraCare( https://www.akkaracare.com/ )เบอร์ 0863182604, 0971014082
ขอขอบคุณ Home1click.com ที่จัดหาวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพและราคาย่อมเยาให้กับทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Akkara Care