ผู้สูงวัยใกล้ตัวท่านมีอาการหลงลืมบ้างหรือไม่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัยเกิดขึ้นได้ บางเรียกว่าอัลไซเมอร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม Akkara Care จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับโรคนี้
โรคสมองเสื่อม คืออะไร?
ภาวะที่สมองทำหน้าที่ได้ลดลงหรือผิดไปจากเดิมจนมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน(Activity of daily living) รวมไปถึง การใช้ความคิด การตัดสินใจ ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ การใช้ภาษา หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ เป็นต้น สาเหตุ เช่น สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง, สมองเสื่อมจากการติดเชื้อ, สมองเสื่อมจากภาวะ โรคน้ำเกินในโพรงสมอง (normal pressure hydrocephalus) เป็นต้น
อาการเป็นอย่างไร?
อาจเริ่มจากสูญเสียความทรงจำที่เกิดขึ้นใหม่(recent memory loss) ในระยะแรก เช่น จำบทสนทนาที่เพิ่งเกิดไปไม่ได้ นึกชื่อบุคคลหรือสิ่งของไม่ออก ไม่สามารถทำกิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำได้ จนในที่สุด จะมีลักษณะกลับไปเป็นเหมือนเด็กๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในบางรายจะมีภาวะอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวหรือซึมเศร้าร่วมด้วย
คนใกล้ชิดจะเริ่มสังเกตได้ว่าผู้ป่วยชอบถามคำถามเดิมซ้ำๆบ่อยครั้ง
สมองเสื่อมเทียม ?
ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเราจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคสมองเสื่อมเทียม (pseudodementia) ซึ่งเกิดจากภาวะซึมเศร้า (Depressive disorder) ออกไปก่อน เนื่องจากการรักษาต่างกัน หลายกรณีที่ผู้ที่วิตกกังวลมากเกินไปว่าตนหลงลืมง่ายจะเป็นโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ ?
โรคอัลไซเมอร์เป็น 1 ในสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย การวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อสมองยังมีสาเหตุของโรคสมองเสื่อมอีกหลาย
สัญญาณบอกอาการ สมองเสื่อม
ถามเรื่องหรือคำถามเดิมซ้ำๆ, หลงทาง, ปฎิบัติหน้าที่หรือกิจวัตรที่เคยทำได้ดีไม่ได้เหมือนก่อน ลืมเรื่องที่กำลังสนทนาอยู่ หรือแม้แต่การจดจำเรื่องราวในอดีตที่ผ่านไปนานแล้วได้ดีแต่กลับจำเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้
อาการ BPSD คือ ?
Behavioral Psychological Symptoms of Dementia คือ ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต ในภาวะสมองเสื่อม ที่พบบ่อย เช่น อาการหลงผิด (Delusion), จิตประสาทหลอน (Hallucination),ภาวะซึมเศร้า (Depression) เป็นต้น
การดูแลรักษาโรคสมองเสื่อม
ในปัจจุบัน โรคสมองเสื่อมยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดที่แน่นอน การรักษาในปัจจุบันคือ
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non pharmacological) เช่น การฝึกความจำ (memory training), การฝึกมอนเตสซอรี่, การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยคุ้นเคยและลดความเครียด
- การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacological) เช่น ยาที่ช่วยระงับหรือลดพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วย
การป้องกันโรคสมองเสื่อม
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหมั่นฝึกสมอง การแก้ปัญหา การใช้ความคิด อาจใช้เกมปริศนาช่วยในการฝึกสมอง
อาหารเสริมป้องกันโรคสมองเสื่อม ?
ปัจจุบันยังไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมใดๆที่มีผลการวิจัยตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่าสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ไหม?
ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุว่าเราสามารถกำจัดตัวต้นเหตุได้หรือไม่ เช่น ถ้าเกิดจากติดเชื้อแล้วเราสามารถรักษาได้ทันท่วงทีก็มีโอกาสที่จะกลับมาปกติ สิ่งสำคัญคือการได้รับการรักษาจากแพทย์ทางระบบประสาทและได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
อายุที่มากไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมเสมอไป อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุความความเสี่ยงสูง คนใกล้ชิดต้องคอยสังเกตอาการผู้สูงวัยในครอบครัว
อัครา แคร์ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยระยะพักฟื้น มีความพร้อมในเรื่องสถานที่และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในการดูแลผู้สูงวัย ผู้ป่วยระยะพักฟื้น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด สามารถเข้าชมได้ที่ www.akkaracare.com หรือสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 0863182604, 0971014082