{"items":["5faab236e8f24900176d646b","5faab236e8f24900176d646c","5faab236e8f24900176d646d"],"styles":{"galleryType":"Strips","groupSize":1,"showArrows":true,"cubeImages":true,"cubeType":"fill","cubeRatio":"100%/100%","isVertical":false,"gallerySize":30,"collageDensity":0.8,"groupTypes":"1","oneRow":true,"imageMargin":0,"galleryMargin":0,"scatter":0,"rotatingScatter":"","chooseBestGroup":true,"smartCrop":false,"hasThumbnails":false,"enableScroll":true,"isGrid":false,"isSlider":false,"isColumns":false,"isSlideshow":true,"cropOnlyFill":false,"fixedColumns":1,"enableInfiniteScroll":true,"isRTL":false,"minItemSize":120,"rotatingGroupTypes":"","rotatingCropRatios":"","columnWidths":"","gallerySliderImageRatio":1.7777777777777777,"numberOfImagesPerRow":3,"numberOfImagesPerCol":1,"groupsPerStrip":0,"borderRadius":0,"boxShadow":0,"gridStyle":0,"mobilePanorama":false,"placeGroupsLtr":false,"viewMode":"preview","thumbnailSpacings":4,"galleryThumbnailsAlignment":"bottom","isMasonry":false,"isAutoSlideshow":true,"slideshowLoop":false,"autoSlideshowInterval":3,"bottomInfoHeight":0,"titlePlacement":"SHOW_ON_HOVER","galleryTextAlign":"center","scrollSnap":true,"itemClick":"nothing","fullscreen":true,"videoPlay":"hover","scrollAnimation":"NO_EFFECT","slideAnimation":"SCROLL","scrollDirection":1,"scrollDuration":400,"overlayAnimation":"FADE_IN","arrowsPosition":0,"arrowsSize":18,"watermarkOpacity":40,"watermarkSize":40,"useWatermark":true,"watermarkDock":{"top":"auto","left":"auto","right":0,"bottom":0,"transform":"translate3d(0,0,0)"},"loadMoreAmount":"all","defaultShowInfoExpand":1,"allowLinkExpand":true,"expandInfoPosition":0,"allowFullscreenExpand":true,"fullscreenLoop":false,"galleryAlignExpand":"left","addToCartBorderWidth":1,"addToCartButtonText":"","slideshowInfoSize":160,"playButtonForAutoSlideShow":false,"allowSlideshowCounter":false,"hoveringBehaviour":"NEVER_SHOW","thumbnailSize":120,"magicLayoutSeed":1,"imageHoverAnimation":"NO_EFFECT","imagePlacementAnimation":"NO_EFFECT","calculateTextBoxWidthMode":"PERCENT","textBoxHeight":0,"textBoxWidth":200,"textBoxWidthPercent":50,"textImageSpace":10,"textBoxBorderRadius":0,"textBoxBorderWidth":0,"loadMoreButtonText":"","loadMoreButtonBorderWidth":1,"loadMoreButtonBorderRadius":0,"imageInfoType":"ATTACHED_BACKGROUND","itemBorderWidth":0,"itemBorderRadius":0,"itemEnableShadow":false,"itemShadowBlur":20,"itemShadowDirection":135,"itemShadowSize":10,"imageLoadingMode":"BLUR","expandAnimation":"NO_EFFECT","imageQuality":90,"usmToggle":false,"usm_a":0,"usm_r":0,"usm_t":0,"videoSound":false,"videoSpeed":"1","videoLoop":true,"jsonStyleParams":"","gallerySizeType":"px","gallerySizePx":220,"allowTitle":true,"allowContextMenu":true,"textsHorizontalPadding":-30,"showVideoPlayButton":true,"galleryLayout":5,"targetItemSize":220,"selectedLayout":"5|bottom|1|fill|false|1|true","layoutsVersion":2,"selectedLayoutV2":5,"isSlideshowFont":true,"externalInfoHeight":0,"externalInfoWidth":0},"container":{"width":220,"height":284,"galleryWidth":220,"galleryHeight":123,"scrollBase":0}}
โรคหลอดเลือดหัวใจมีทางหายขาดหรือไม่
ทำอย่างไรจึงจะหาย คำถามเหล่านี้เป็นคำถามยอดนิยมที่ผู้ป่วยและญาติต้องการคำตอบทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ อัครา แคร์ นำบทสัมภาษณ์ นพ. ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด มานำเสนอ
"โรคหลอดเลือดหัวใจมีทางรักษาให้หายขาดหรือไม่ ผมมักได้รับคำถามลักษณะนี้บ่อย ซึ่งก็ต้องตอบตรงๆ ว่ายังไม่มีทางที่จะหายขาดได้ มีเพียงแต่วิธีที่ทำให้โรคไม่เป็นมากขึ้นและอาการไม่แย่ลงเท่านั้น เพราะอย่างไรเสีย ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจนอกจาก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่แล้ว อายุก็เป็นปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้)เหมือนกัน สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น มีหลายแนวทาง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิต เช่น การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะ ไขมันทรานส์ เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด จะเห็นได้ว่า เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นจะคล้ายกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย สามารถเริ่มได้ทันที
การรักษาด้วยยา สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น การรักษาโดยการใช้ยา ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการใช้ยานั้น แพทย์ผู้รักษาจะจ่ายยาตามอาการของโรค ยาที่ใช้จะมีหลายกลุ่มออกฤทธิ์ต่างกันไป
ยาป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้ไม่สามารถเกาะเข้ากับผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องทานไปตลอดชีวิต
ยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด โดยปกติแล้วผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือด ไม่ว่าจะที่หัวใจ สมองหรือหลอดเลือดส่วนปลาย ควรจะต้องได้รับยาลดไขมันในเลือดไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ โดยมีระดับเป้าหมาย LDL ควรจะต้องน้อยกว่า 70 mg/dL (แต่ถึงแม้ระดับ LDL จะต่ำกว่า 70 แล้วก็ควรจะต้องทานต่อไปอยู่ดี)
ยาลดการทำงานของหัวใจ เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลง ลดการใช้อ๊อกซิเจน
ยาลดอาการเจ็บหน้าอก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถแก้ไขอาการขาดเลือดได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการทำบอลลูนหรือบายพาสมาแล้ว อาจจะมีกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาดเลือดอยู่บ้าง ซึ่งทำให้เกิดแน่นหน้าอกได้ โดยทั่วไปแล้วยาลดอาการปวด โดยเฉพาะกลุ่มยาอมใต้ลิ้นนั้น จะมีวิธีใช้เฉพาะที่แตกต่างออกไป เช่น เมื่อเจ็บหน้าอก จะใช้ยาอมใต้ลิ้น ต้องนั่งหรือนอน ห้ามยืน มิฉะนั้นอาจทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นลมล้มหัวกระแทกได้ ที่สำคัญยาอมใต้ลิ้นเป็นเพียงยาลดอาการปวด แน่นหน้าอกเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต หรือเป็นยาช่วยชีวิตแต่อย่างใด (ไม่เหมือนในละครที่คนไข้เสียชีวิต เพราะไปหยิบยาไม่ทัน)
ยาสลายลิ่มเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด ใช้ในกรณีมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือมีหัวใจเต้นผิดจัวหวะ
ยาอื่นๆที่ใช้รักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น โรคแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน เป็นการรักษาในอาการที่ค่อนข้างรุนแรง วิธีการทำจะใช้สายขนาดประมาณไส้ปากกา แทงที่บริเวณข้อมือหรือขาหนีบ เมื่อสายสวนไปถึงบริเวณเส้นเลือดที่ตีบแล้วก็จะกางบอลลูนออก ซึ่งจะทำให้ไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ ถูกดันให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น แพทย์ผู้ทำการรักษาอาจใช้ขดลวดตาข่าย ดันในจุดที่ตีบหรืออุดตันอย่างถาวรเพื่อช่วยลดโอกาสที่หลอดเลือดจะตีบตันใหม่
การทำบายพาสหัวใจ หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในกรณีที่ไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้แล้ว โดยเป็นการใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกาย ทำทางเดินเลือดใหม่ โดยมากจะใช้ หลอดเลือดดำที่ขาหรือหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังหน้าอก
การใส่เครื่องหัวใจเทียม เป็นวิทยาการใหม่สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ คนไข้จะมีกระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์สำหรับเครื่องที่ต้องติดตัวคนไข้ไปตลอด สามารถใส่ได้เป็นระยะเวลาหลายๆ เดือน
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า คนไข้จำเป็นต้องได้รับหัวใจดวงใหม่ ต้องเป็นไปตามกฏเกณฑ์และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นการรักษาที่มีข้อจำกัดอยู่มาก ในเมืองไทยยังไม่ค่อยแพร่หลาย เนื่องจากผู้บริจาคยังมีน้อย แต่ก็เริ่มเพิ่มขึ้นในระยะหลัง หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด ต้องทานยากดภูมิเพื่อมิให้ร่างกายต่อต้านหัวใจดวงใหม่ ไม่เสี่ยงเข้าไปในพื่นที่ที่ติดเชื้อได้ง่าย และต้องดูแลตนเองเป็นอย่างดี
สิ่งที่ดีสุด คือ การป้องกันการเกิดโรค สามารถป้องกันได้โดยการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น การบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ การควบคุมน้ำหนักร่างกาย และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ"
เครดิต : นพ. ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ด้วยความปรารถนาดีจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอัครา ศูนย์ดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่เวปไซต์ของเรา https://www.akkaracare.com หรือสนใจเข้าดูสถานที่สามารถติดต่อได้ที่เบอร์
0863182604, 0971014082